วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กิน ขี้พร้าไฟ ต้านมะเร็ง



กิน  ขี้พร้าไฟ  ต้านมะเร็ง
                หลายเดือนมานี้ ตามตลาดนัดแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ สตูล สงขลา กำลังเห่อขี้พร้าไฟ เชื่อกันว่ารักษามะเร็ง แถวบ้านใครมีเยาะ แทบจะเป็นเศรษฐีทันควัน ลูกโตหน่อยราคาประมาณ  300-400 ร้อยบาท ลูกเล็กๆราคาลดลั่นกันไป 120-200 บาท แล้วแต่จะต่อรอง
                จริงหรือไม่ไม่อาจทราบได้ แต่เท่าที่ค้นดูในนิตยสารหมอชาวบ้าน ฉ.340 พบบทความของ รศ.ดร.สุธาทิพย์ ภมร
ประวัติ กล่าวถึงพืชชนิดนี้อย่างน่าสนใจ และเป็นจริงดังที่ชาวบ้านคิด แต่หลายคนยังไม่รู้จักพืชชนิดนี้  มาทำความรู้จักกัน
                ภาคกลางเรียกฟักข้าว หรือ Momordica cochinnensis <Lour.> Spreng. สงขลาเรียกขี้พร้าไฟ ปัตตานีเรียกขี้กราเครือ ภาคเหนือแถบตากเรียกผักข้าว แถบแพร่เรียกมะข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศ จีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย
และฟิลิปปินส์
                ในเวียดนามเรียกแก็ก <Gac> อยู่ในตระกูลแต่งกว่าและมะละ ในวงศ์  Cucurbitaceae
                เป็นเถาไม่เลื้อยพัน มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดียว เรียงเป็นสลับเป็นรูปหัวใจหรือรูปขา กว้างยาวเท่ากันประมาณ 6-15 ซม.ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก ดอกเป็นดอกเดียวพบที่ซอกใบ ต้นแยกเพศอยู่คนละต้น  กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง ใบประดับมีขน
                ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้องถูกผสม ผลสุขจะมีสีแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูกเริ่มมีดอกหลังแยกรากปลูกประมาณ 2 เดือน ผลิตดอกราวเดือน พ.ค. ให้ดอกราวเดือน  ส.ค. ผลสุขใช้เวลาประมาร 20 วัน
                ในหนึ่งฤดูเก็บเกี่ยวได้ 30-80 ผล เก็บสุขได้ตั้งแต่เดือน  ก.ค.-ก.พ. ผลมี 2 ชนิดขนาดยาว 6-10 ซ.ม. และขนาดกลมยาว 4-6  ซ.ม. เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่ หรือแดงเมื่อสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ 0.5-2 ก.ก.
                ชาวเวียดนามมักปลูกพาดพันระแนงข้างบ้าน และเก็บผลสุขมาประกอบอาหาร แต่เนื่องจากให้ผลสีช่วงหนาวจึงใช้ประกอบอาหารในช่วงเทศการปีใหม่ และงานมงคลสมรส
                สำหรับไทยนั้น เนื่องจากผลอ่อนรสชาติเหมือนมะละกอชาวบ้านมักลวกหรือต้มสุก หรือต้มกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิหรือใส่แกงยอดอ่อน ใบอ่อนนำมาเป็นผักได้ นึ่งหรือลวกสุขจิ้มน้ำพริก หรือปรุงเป็นแกงได้เช่นกัน
                เยื่อเมล็ดมีปริมารบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอท 10  เท่า มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า กรดไขมันขนาดยาวร้อยระ 10 ของมวล เพราะฉะนั้นการกินบีตาแคโรทีนจากฟักขาวพบว่าดูดซึมในร่างกายได้ดี เพราะระรายได้ในกรดไขมัน ซึ่งจะมีผลในการบำรุงสายตา
สำคัญที่ใครอยากรู้ก็คือ  ไลโคพีนเป็นสารกลุ่มแคดรทีนอยด์ พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด ทำหน้าที่เป้นรงควัตถุรวบรวบแสงให้แก่พืชและป้องกันพืชผักจากออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว อนุมูลอิสระ และแสงที่จ้าเกินไป การกินไลดคพีนมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น ได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ว่ามีผลลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดหัวใจ โดรมะเร้งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะ
                เนื่องจากเมล็ดมีไลโคพีนมากกว่าผลไม่อื่นๆ ทุกชนิดจึงถือว่าเป็นอาหารตต้านมะเร็งที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งจากฤทธิ์ของไลโคพีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น